วันเสาร์ที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2562


                      🌼 อนุทินที่3   🌼



1. ใครเป็นผู้ขอพระราชทานรัฐธรรมนูญฉบับแรกและมีเหตุผลอย่างไร และประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาเป็นอย่างไร อธิบาย

ตอบ ผู้ที่ขอพระราชทานรัฐธรรมนูญฉบับแรก ได้แก่ คณะราษฎร์ โดยมีเหตุผลเพราะ เป็นผู้มีอำนาจในการปกครองประเทศในขณะนั้นและมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุขรัฐธรรมนูญนี้ เป็นรัฐธรรมนูญฉบับแรกเรียกว่า “รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม  พุทธศักราช 2475 ซึ่งเหตุผลของผู้ขอพระราชทานรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยามที่ถือเป็นฉบับแรก คือ คณะราษฎร์ต้องการเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบอบประชาธิปไตย โดยได้กล่าวไว้ว่า “บัดนี้การศึกษาสูงขึ้นแล้ว มีข้าราชการประกอบด้วยวุฒิปรีชาในรัฐาภิปาล นโยบายสามารถนำประเทศของตน ในอันที่จะก้าวหน้าไปสู่สากลอารยธรรมแห่งโลกโดยสวัสดี สมควรแล้วที่จะพระราชทานพระบรมวโรกาส ให้ข้าราชการและประชาชนของพระองค์ ได้มีส่วนมีเสียงตามความเห็นดีเห็นชอบในการจรรโลงประเทศสยามให้วัฒนาการในภายภาคหน้า” รัฐธรรมนูญฉบับนี้ พระราชทานรัฐธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามตามความประสงค์เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน พุทธศักราช 2475 และประกาศเมื่อวันที่ 10 ธันวาคม พุทธศักราช 2475 ในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 49 และ ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษา อยู่ในหมวดที่ 2 เป็นเรื่องเกี่ยวกับสิทธิและหน้าที่ของชนชาวสยามมาตรา14ภายในบังคับแห่งกฎหมายบุคคลย่อมมีเสรีภาพบริบูรณ์ภายในร่างกายเคหสถาน ทรัพย์สิน การพูด การเขียน การโฆษณา การศึกษาอบรม การประชุมโดยเปิดเผย การตั้งสมาคม การอาชีพ

2. แนวนโยบายแห่งรัฐในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาของรัฐธรรมนูญฯ พุทธศักราช  2492  ได้กำหนดอย่างไร  อธิบาย
 ตอบ แนวนโยบายแห่งรัฐซึ่งประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาของรัฐธรรมนูญ พุทธศักราช 2492 นั้น ได้แบ่งออกเป็น 3 หมวดได้แก่ หมวดที่ 3 หมวดที่ 4 และหมวดที่ 5 โดยมีรายละเอียดดังนี้
หมวด 3 สิทธิและเสรีภาพของชนชาวไทย 
มาตรา 36 บุคคลย่อมมีเสรีภาพบริบูรณ์ในการศึกษาอบรม เมื่อการศึกษาอบรมนั้นไม่เป็นปฏิปักษ์ต่อหน้าที่ของพลเมืองตามกฎหมายว่าด้วยการศึกษาอบรมและไม่ขัดต่อกฎหมายว่าด้วยการจัดสรรสถานศึกษา สถานศึกษาของรัฐและของเทศบาลต้องให้ความเสมอภาคแก่บุคคลในการเข้ารับการศึกษาอบรมตามความสามารถของบุคคลนั้น ๆ
หมวด 4 หน้าที่ของชนชาวไทย
มาตรา53 บุคคลมีหน้าที่รับการศึกษาอบรมชั้นประถมศึกษา ภายในเงื่อนไขและวิธีการที่กฎหมายบัญญัติ
หมวด 5 แนวนโยบายแห่งรัฐ ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา
มาตรา 62 การศึกษาอบรมพึงมีจุดประสงค์ที่จะให้ชนชาวไทยเป็นพลเมืองดีมีร่างกายแข็งแรงและอนามัยสมบูรณ์มีความรู้ความสามารถที่จะประกอบอาชีพ และมีจิตใจเป็นนักประชาธิปไตย
มาตรา 63 รัฐพึงส่งเสริมและบำรุงการศึกษาอบรมการจัดระบบการศึกษาอบรมเป็นหน้าที่ของรัฐโดยเฉพาะสถานศึกษาทั้งปวงย่อมอยู่ภายในการควบคุมดูแลของรัฐการศึกษาอบรมชั้นอุดมศึกษารัฐพึงจัดการให้สถานศึกษาดาเนินกิจการของตนเองได้ภายในขอบเขตที่กฎหมายบัญญัติ
มาตรา 64 การศึกษาอบรมชั้นประถมศึกษาในสถานศึกษาของรัฐและของเทศบาลจะต้องจัดให้โดยไม่เก็บค่าเล่าเรียน รัฐพึงช่วยเหลือให้มีอุปกรณ์การศึกษาอบรมตามสมควรมาตรา65รัฐพึงสนับสนุนการค้นคว้าในทางศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์
3.  เปรียบเทียบแนวนโยบายแห่งรัฐประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาของรัฐธรรมนูญฯ พุทธศักราช 2511 พุทธศักราช 2517 และพุทธศักราช 2521 เหมือนหรือต่างกันอย่างไร อธิบาย
ตอบแนวนโยบายแห่งรัฐประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาของรัฐธรรมนูญฯพุทธศักราช2511 พุทธศักราช 2517 และ พุทธศักราช 2521 มีทั้งที่เหมือนกันและแตกต่างกัน
ปี พ.ศ. 2511 และ ปี พ.ศ.2517 ทั้งสองปี พ.ศ.มีความเหมือนกันในการศึกษาจะส่งเสริมการศึกษาในระดับอุดมศึกษา  รัฐบาลจัดการให้สถานศึกษาจัดกิจกรรมของตนเอง  และการศึกษาระดับประถมศึกษาจะไม่เก็บค่าเล่าเรียน แต่  ปี พ.ศ.2521 การศึกษาระดับอุมศึกษาจะไม่เก็บค่าเล่าเรียน มีการฝึกอาชีพให้กับนักเรียนเพิ่มเติมอีกด้วย ส่วนระดับประถมไม่ได้พูดถึง
 -  ทั้ง 3 ปี พ.ศ.จะส่งเสริมในงานวิจัย ด้านวิทยาศาสตร์ และเทคโลยี
 -  ปีพ.ศ.2521 ส่งเสริมการพัฒนาเยาวชนให้เป็นผู้มีความสมบูรณ์ทั้งร่างกาย จิตใจ และสติปัญญา แต่ ปี พ.ศ. 2511 และ ปี พ.ศ.2517 ไม่ได้พูดถึง
 4.  ประเด็นที่ 1 รัฐธรรมนูญฯ พุทธศักราช 2475-2490   ประเด็นที่ รัฐธรรมนูญฯ พุทธศักราช 25492-2517  ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาเหมือนหรือต่างกันอย่างไร  อธิบาย 

 ตอบ   มีความแตกตางกันตรงที่ประเด็นที่ 1 ในรัฐธรรมนูญฯ พุทธศักราช 2475-2490 จะไม่ค่อยบังคับด้านการศึกษาโดยจะให้เสรีในการเลือกตัดสินใจให้เสรีภาพในการศึกษาไม่บังคับอะไรมากมายนัก ส่วนในประเด็นที่ 2 ในรัฐธรรมนูญฯ พุทธศักราช 25492-2517  การศึกษาเริ่มเป็นระบบมากขึ้น มีหน่วยงานของรัฐบาลให้ความช่วยเหลือในการศึกษาทั้งในเรื่องของ ทุนการศึกษา  และมีการบังคับให้ศึกษาตามระบบมีกฎหมายเกี่ยวกับการศึกษาที่แน่นอนมีการเข้มงวดในเรื่องการศึกษาโดยทางรัฐบาลจะช่วยเหลือด้านเข้าเล่าเรียน   ชื่อเรียก : ปีพุทธศักราช 2475-2490 ใช้ชื่อเรียก"รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม  ปีพุทธศักราช 2475-2490 เป็นการปกครองจากสมบูรณาสิทธิราชที่มีพระมหากษัตริย์เป็นผู้มีอำนาจในการปกครองประเทศ และมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองประเทศเป็นระบอบประชาธิปไตย ที่มีคณะราษฎร์เป็นผู้มีอำนาจในการปกครองประเทศ

5.  ประเด็นที่ 3 รัฐธรรมนูญฯ พุทธศักราช 2521-2534   ประเด็นที่ รัฐธรรมนูญฯ พุทธศักราช 2540-2550  ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาเหมือนหรือต่างกันอย่างไร  อธิบาย

 ตอบ  ประเด็นที่ 3 รัฐธรรมนูญฯ พุทธศักราช 2521-2534 ประเด็นที่ 4 รัฐธรรมนูญฯพุทธศักราช 2540-2550 ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาเหมือนและต่างกัน
 เหมือนกัน : เป็นรัฐธรรมนูญที่เปลี่ยนชื่อมาใช้ “รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
 ต่างกัน : ปีพุทธศักราช 2521-2534  สภานิติบัญญัติแห่งชาติ แต่งตั้งคณะกรรมาธิการทำหน้าที่ร่างรัฐธรรมนูญ สามวาระ โดยยึดถือแนวทางอันเป็นปณิธานร่วมของปวงชนชาวไทย
ปีพุทธศักราช 2540-2550 ประเทศไทยได้มีรัฐธรรมนูญประกาศใช้เป็นหลักในการปกครองประเทศตามระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
ปีพุทธศักราช 2521-2534 ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ พลอากาศเอก หะรินหงสกุล ประธานสภา นิติแห่งชาติ
ปีพุทธศักราช 2540-2550 ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ วันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานรัฐสภา

6.  เหตุใดรัฐธรรมนูญแต่ละฉบับจะต้องระบุในประเด็นที่รัฐจะต้องจัดการศึกษาอย่างเป็นธรรมและทั่วถึง  อธิบาย
ตอบรัฐธรรมนูญแต่ละฉบับจะต้องระบุในประเด็นที่รัฐจะต้องจัดการศึกษาอย่างเป็นธรรมและทั่วถึงเพราะทุกคนจะต้องได้รับสิทธิและเสรีภาพความเสมอภาคเท่าเทียมกัน เพื่อต้องการให้ทุกคนมีการศึกษาที่เท่าเทียมโดยไม่แบ่งชั้นวรรณะหรือความได้เปรียบเสียเปรียบกันซึ่งในการปรับรัฐธรรมนูญแต่ละฉบับนั้นจะมีการเปลี่ยนแปลงไปตามความต้องการของประเทศและตามเศรษฐกิจในยุคนั้นๆ


7.  เหตุใดรัฐจึงต้องกำหนด “บุคคลมีหน้าที่รับการศึกษาอบรมตามเงื่อนไขและวิธีการที่กฎหมายบัญญัติ” จงอธิบาย หากไม่ปฏิบัติจะเกิดอะไรขึ้น
ตอบพราะรัฐธรรมนูญต้องการให้การศึกษาของไทยเป็นไปอย่างมีระบบและต้องการให้มีการศึกษาที่สอดคล้องกันและมีการบังคับการศึกษาที่แน่นอนเพื่อให้หน่วยงานของรัฐรับผิดชอบในด้านต่างๆเกี่ยวกับการศึกษานี่คือประเด็นที่รัฐธรรมนูญต้องจัดประเด็นการศึกษาอย่างเป็นทางการและมีทุกพุทธศักราชที่พูดเกี่ยวกับการศึกษาเพื่อต้องการให้บุคคลมีความเสมอภาคมีความเท่าเทียมกันทางด้านการศึกษาพึงได้รับประโยชน์และสิทธิเช่นเดียวกันและเพื่อให้บุคคลเป็นมนุษย์ที่มีความสมบูรณ์ทั้งด้านร่างกายจิตใจอารมณ์สังคมและสติปัญญาโดยการได้รับความรู้และการส่งเสริมอย่างทั่วถึงเมื่อมีการกำหนดรัฐธรรมนูญขึ้นมาจะต้องมีหน่วยงานของรัฐและเอกชนมาให้ความช่วยเหลือทางด้านการศึกษาให้ทั่วถึงและความเสมอภาคแก่ปวงประชาชนอย่างเท่าเทียมกันหากไม่ปฏิบัติตามที่กฎหมายได้บัญญัติไว้จะส่งผลให้เกิดความไม่เสมอภาคความไม่เท่าเทียมและขาดการช่วยเหลือทางด้านการศึกษา


8.  การจัดการศึกษาที่เปิดให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาหาก เราพิจารณารัฐธรรมนูญมีฉบับใดบ้างที่ให้องค์กรส่วนท้องถิ่นมีส่วนร่วม  และถ้าเปิดโอกาสให้ท้องถิ่นมีส่วนร่วมมากขึ้นท่านคิดว่าเป็นอย่างไร จงอธิบาย   

ตอบ   รัฐธรรมนูญฉบับที่ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีส่วนร่วม ได้แก่  ฉบับที่ 5-10  (พ.ศ. 2540-2550) และหากเปิดโอกาสให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีส่วนร่วมมากขึ้น ดิฉันคิดว่าเป็นสิ่งที่ดีอย่างยิ่ง เนื่องจากในการจัดการศึกษาจะต้องสอดคล้องกับสังคมหรือบริบทของท้องถิ่นนั้นๆด้วยหากเปิดโอกาสให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเข้ามามีส่วนร่วมมากขึ้น จะทำให้เข้าใจถึงบริบทของท้องถิ่นนั้นๆมากขึ้นเช่นเดียวกัน และยังสามารถทำให้ประชาชนเห็นความสำคัญของการศึกษามากขึ้น ตลอดจนการบูรณาการ การให้ความช่วยเหลือทางด้านต่างๆจากท้องถิ่นก็ย่อมมีมากขึ้นด้วย และจะทำให้การศึกษาและท้องถิ่นนั้นๆสามารถพัฒนาไปได้พร้อมๆกันจากความร่วมมือการพึ่งพาอาศัยและการช่วยเหลือเกื้อกูลกัน

9.  เหตุใดการจัดการศึกษา  รัฐต้องคุ้มครองและพัฒนาเด็กและเยาวชน  ส่งเสริมความเสมอ ภาคทั้งหญิงและชาย  พัฒนาความเป็นปึกแผ่นของครอบครัว  และความเข็มแข็งของชุมชน  สังเคราะห์ผู้ยากไร้  ผู้พิการหรือทุพพลภาพและผู้ด้อยโอกาส  จงอธิบาย

ตอบ   เพราะรัฐต้องการให้เด็กและเยาวชนไม่ว่าจะประเภทใดก็ตามพึงได้รับความเท่าเทียมและทั่วถึงในด้านการศึกษา อีกทั้งพึงต้องการให้เด็กและเยาวชนเหล่านี้ได้รับความสุข สามารถอยู่ร่วมกันในสังคมได้อย่างเท่าเทียมและปกติสุข สามารถเติบโตด้วยความพร้อมที่เต็มไปด้วยความบริบูรณ์ในด้านต่างๆ ซึ่งการช่วยเหลือที่เท่าเทียมตลอดจนการปลูกฝังให้ผู้เรียนมีจิตสำนึกของความเป็นไทย มีระเบียบวินัย คำนึงถึงประโยชน์ส่วนรวม และยึดมั่นในการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขจะส่งผลให้เด็กและเยาวชนเหล่านี้เป็นกำลังที่จะช่วยพัฒนาประเทศชาติให้เจริญรุ่งเรืองต่อไปด้วยความรู้ ความสามารถและคุณธรรม 

10.  ผลการจัดการศึกษาที่ผ่านมาของรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน  มีผลต่อการพัฒนาประเทศ อย่างไรบ้าง  จงอธิบาย

ตอบผลการจัดการศึกษาที่ผ่านมาของรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันทำให้เกิดนโยบายเรียนฟรี 15 ปีขึ้น ลดภาระค่าใช้จ่ายในการซื้ออุปกรณ์การเรียน มีการมอบทุนการศึกษา และการให้การศึกษาแก่ผู้พิการ ทำให้บุคคลมีสิทธิได้รับการศึกษาอย่างทั่วถึงมากยิ่งขึ้นทำให้สามารถลดความเลื่อมล้ำในด้านการศึกษาในประเทศได้ในระดับหนึ่งเมื่อมีรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยขึ้นและมีการปรับปรุงแก้ไขในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาและได้มีวิวัฒนาการเกี่ยวกับสิทธิและหน้าที่เสรีภาพการศึกษาอบรมให้กับเด็กและเยาวชนให้เป็นผู้มีความสมบูรณ์ทั้งทางร่างกาย จิตใจ สติปัญญา  คุณธรรมจริยธรรมโดยมีแนวทางในการจัดการศึกษารัฐจะต้องจัดการศึกษาและสนับสนุนให้เอกชนจัดการศึกษาอบรมให้เกิดความรู้คู่คุณธรรมเช่นกัน และจัดการศึกษาภาคบังคับให้เข้ารับการศึกษาอบรมโดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย สำหรับการศึกษาภาคบังคับ ต่อมาได้เพิ่มเติมจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน ไม่น้อยกว่า 12 ปี รัฐจะต้องจัดอย่างทั่วถึงและมีคุณภาพ พร้อมทั้งจัดให้มีกฎหมายการศึกษาแห่งชาติ หรือเรียกชื่อว่า “พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติขึ้น”ซึ่งส่งผลให้เยาวชนมีความรู้ ความสามารถ ได้รับการส่งเสริมที่ทั่วถึงทำให้เยาวชนเป็นกำลังที่สำคัญในการพัฒนาประเทศชาติและมีความสามารถในการแข่งในเวทีโลกได้มากยิ่งขึ้นและเป็นการยกระดับการศึกษาไทยให้ก้าวหน้ายิ่งไปกว่าเดิมจากที่เห็นได้ชัดจากผลงานสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมต่างๆของเด็กไทยที่ได้รับการสนับสนุนส่งเสริมและการร่วมมือจากภาครัฐและทุกภาคส่วนส่งผลให้ประเทศไทยมีโอกาสในการแข่งขันในเวทีโลกมากยิ่งขึ้น สรุปได้ว่าการจัดการศึกษาที่ผ่านมาของรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันมีพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติทำให้ศึกษาของไทยมีระบบ 
มีความคล่องตัว มีความสามารถในการแข่งขันในระดับต่างๆและในเวทีโลกมากขึ้น อีกทั้งยังลดความเลื่อมล้ำทางด้านการศึกษาได้มากขึ้นกว่าในอดีตที่ผ่านมาอีกด้วย



วันอังคารที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562

อนุทินที่ 2 🙆



                🌼อนุทินที่ 2 🌼




                 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมาย  🙋



1.ท่านคิดว่าทำไมมนุษย์เราต้องมีกฎหมาย หากไม่มีจะเป็นอย่างไร

ตอบ เพราะมนุษย์เป็นสัตว์ประเสริฐที่อยู่ร่วมกันอยู่เป็นจำนวนมาก จึงจำเป็นต้องมีสิ่งที่มาจัดระเบียบในการอยู่ร่วมกัน โดยสิ่งนั้นควรจะเป็นข้อห้าม ข้อบังคับ หรือข้อปฏิบัติที่สร้างมาเพื่อให้มนุษย์เคารพสิทธิในการอยู่ร่วมกับผู้อื่น ให้สามารถดำรงชีวิตต่อไปได้อย่างสงบสุข เพราะกฎหมายเป็นบรรทัดฐานทางสังคมที่เป็นกฎเกณฑ์ที่ใช้บังคับความประพฤติของสมาชิกในสังคมให้เป็นไปในทำนองเดียวกัน ทำให้สังคมมีระเบียบ วินัย และสงบเรียบร้อย ซึ่งหากไม่มีกฎหมาย มนุษย์ก็จะทำอะไรตามใจตนเอง ถ้าต่างตนต่างทำตามใจและการกระทำนั้นทำให้ผู้อื่นได้รับความเสียหาย ก็จะเกิดปัญหา ความขัดแย้ง เกิดขึ้นมากมาย เพราะไม่มีกฎหมายเข้าไปจัดการให้ความเป็นธรรม ในที่สุดสังคมนั้นประเทศนั้นก็จะล่มสลายไม่สามารถดำรงอยู่ได้ ที่สำคัญที่สุดปัจจุบันนี้ในชีวิตประจำวันของเรา ไม่ว่าใครจะทำอะไรก็จะต้องมีกฎหมายเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย ดังนั้นจึงต้องตั้งกฎและระเบียบขึ้นเพื่อจำกัดสิทธิบางอย่าง และให้มีเสรีภาพเท่าเทียมกัน เพื่อจะได้อยู่รวมกันอย่างมีความสุข ไม่เกิดความขัดแย้ง หากไม่มีกฎหมาย อำนาจจะตกอยู่กับผู้ที่มีอำนาจ ไม่มีกฎเกณฑ์ ไม่มีบทลงโทษ ในที่สุดไม่มีระเบียบวินัย บ้านเมืองมีปัญหาวุ่นวาย ต่างคนต่างจะทำในสิ่งที่ต้องเองต้องการ โดยไม่เกรงกลัวความผิด ผู้มีอิทธิพลก็จะเป็นผู้ควบคุมคนในสังคม
............................................................

2.ท่านคิดว่าสังคมปัจจุบันจะอยู่ได้หรือไม่หากไม่มีกฎหมายและจะเป็นอย่างไร

ตอบ สังคมปัจจุบันของเรานี้ หากไร้ซึ่งกฎหมายแล้วนั้นแน่นอนว่าไม่สามารถอยู่ได้อย่างแน่นอน หากลองนึกถึงความจริงคือทุกวันนี้ถึงแม้เราจะมีกฎหมาย แต่ประเทศของเรานั้นเป็นอย่างไรเล่า?คำตอบของคำถามข้างต้น ก็คงจะนึกออกกันดีอยู่แล้ว ว่าสังคมของเราตอนนี้ มันยุ่งเหยิงเพียงใด กล่าวได้ว่าเกิดการรบราฆ่าฟันกันมากมาย มีข่าวร้ายและน่าอนาถใจให้เห็นไม่เว้นแต่ละวัน ผู้คนในสังคมไม่เคารพกฎหมาย และทำผิดกฎหมายกันมากมาย ในทางกลับกันถ้าหากไร้ซึ่งกฏหมายแล้วนั้น ก็คงต้องตอบว่า สังคมของเราคงหาความสงบสุขไม่ได้เลยแม้แต่นิดเดียว  บ้านเมืองคงวุ่นวาย มีแต่การรบราฆ่าฟัน แย่งชิงอำนาจ คนชั่วรังแกคนดี ผู้มีอำนาจกดขี่ประชาชน ผู้คนทำผิดได้โดยมิเกรงกลัวสิ่งใด ดังตัวอย่างที่ได้กล่าวมานั้นหากไร้ซึ่งกฏหมายแล้วสังคมต้องพบกับหายนะะที่ไม่อาจประเมินความร้ายแรงได้แน่นอน.......................................................


3.ท่านมีความรู้ความเข้าเกี่ยวกับกฎหมายในประเด็นต่อไปนี้   
     
    ก.ความหมาย

        ตอบ กฎหมาย คือ คำสั่งหรือข้อบังคับที่เกิดจากรัฎฐาธิปไตย์ จากคณะบุคคลที่มีอำนาจสูงสุดของรัฐ เป็นข้อบังคับใช้กับคนทุกคนที่อยู่ในรัฐหรือประเทศนั้น ๆ ที่จะต้องปฏิบัติตามและมีสภาพบังคับที่มีการกำหนดบทลงโทษ

   ข. ลักษณะหรือองค์ประกอบของกฎหมาย
        
        ตอบ  1.เป็นคำสั่งหรือข้อบังคับที่เกิดจากรัฎฐาธิปไตย์ที่องค์กรหรือคณะบุคคลที่มีอำนาจสูงสุด อาทิ รัฐสภาฝ่ายนิติบัญญัติ หัวหน้าคณะปฏิวัติ กษัตริย์ในระบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ สามารถใช้อำนาจบัญญัติกฎหมายได้ เช่น รัฐสภา ตราพระราชบัญญัติ คณะรัฐมนตรี ตราพระราชกำหนด พระราชกฤษฎีกา คณะปฏิวัติออกคำสั่ง หรือประกาศคณะปฏิวัติชุดต่าง ๆ ถือว่าเป็นกฎหมาย
             2. มีลักษณะเป็นคาสั่งข้อบังคับ อันมิใช่คำวิงวอน ประกาศ หรือแถลงการณ์ อาทิ ประกาศของกระทรวงศึกษาธิการ คำแถลงการณ์ของคณะสงฆ์ ให้ถือเป็นแนวปฏิบัติมิใช่กฎหมาย สำหรับคำสั่งข้อบังคับที่เป็นกฎหมาย เช่น พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 พระราชบัญญัติการศึกษาภาคบังคับ พ.ศ. 2545 พระราชกำหนดบริหารราชการฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 เป็นต้น
            3. ใช้บังคับกับคนทุกคนในรัฐอย่างเสมอภาค เพื่อให้ทุกคนเกรงกลัวและถือปฏิบัติสังคมจะสงบสุขได้ เช่น กฎหมายที่เกี่ยวกับภาษีเงินได้ ใช้บังคับกับผู้ที่มีเงินได้ แต่ไม่บังคับเด็กที่ยังไม่มีเงินได้ การแจ้งคนเกิดภายใน 15 วัน แจ้งคนตายภายใน 24 ชั่วโมง ยื่นแสดงตนเพื่อลงบัญชีทหารกองเกิน เมื่ออายุย่างเข้า18 ปี เข้ารับการตรวจคัดเลือกเป็นทหารประจำการเมื่ออายุย่างเข้า 21 ปีเป็นต้น
            4. มีสภาพบังคับ ซึ่งบุคคลจะต้องปฏิบัติตามกฎหมายโดยเฉพาะการกระทำและการงดเว้นการกระทำตามกฎหมายนั้น ๆ กำหนด หากฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามฝ่าฝืนอาจถูกลงโทษหรือไม่ก็ได้ และสภาพบังคับในทางอาญาคือ โทษที่บุคคลผู้ที่กระทำผิดจะต้องได้รับโทษ เช่น รอลงอาญา ปรับจำคุก กักขัง ริมทรัพย์ แต่หากเป็นคดีแพ่ง ผู้ฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามกฎหมายจะต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทน หรือค่าเสียหายหรือชำระหนี้ด้วยการส่งมอบทรัพย์สินให้กระทำหรืองดเว้นกระทำอย่างใดอย่างหนึ่งตามมูลหนี้ที่มีต่อกันระหว่างเจ้าหนี้และลูกหนี้ เช่น บังคับใช้หนี้เงินกู้พร้อมดอกเบี้ย บังคับให้ผู้ขายส่งมอบหรือโอนทรัพย์สินให้แก่ผู้ซื้อตามสัญญาซื้อขายเป็นต้น

     ค. ที่มาของกฎหมาย
   
         ตอบ
             1. บทบัญญัติแห่งกฎหมาย เป็นกฎหมายลักษณ์อักษร เช่น กฎหมายประมวลรัษฎากร รัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติ พระราชกำหนด พระราชกฤษฎีกา กฎกระทรวง เทศบัญญัติ ซึงกฎหมายดังกล่าว ผู้มีอำนาจแห่งรัฐหรือผู้ปกครองประเทศเป็นผู้ออกกฎหมาย
             2. จารีตประเพณี เป็นแบบอย่างที่ประชาชนนิยมปฏิบัติตามกันมานาน หากนำไปบัญญัติเป็นกฎหมายลายลักษณ์อักษรแล้วย่อมมีสภาพไปเป็นกฎหมาย
             3. ศาสนา เป็นข้อห้ามและข้อปฏิบัติที่ดีของทุก ๆ ศาสนาสอนให้เป็นคนดี เช่น ห้ามลักทรัพย์ ห้ามผิดลูกเมีย ห้ามทำร้ายผู้อื่น กฎหมายจึงได้บัญญัติตามหลักศาสนาและมีการลงโทษ
             4. คำพิพากษาของศาลหรือหลักบรรทัดฐานของคำพิพากษา ซึ่งคำพิพากษาของศาลชั้นสูงเป็นแนวทางที่ศาลชั้นต้นต้องนำไปถือปฏิบัติในการตัดสินคดีหลัง ๆ ซึ่งแนวทางเป็นเหตุผลแห่งความคิดของตนว่าทาไมจึงตัดสินคดีเช่นนี้ อาจนำไปสู่การแก้ไขกฎหมายในแนวความคิดนี้ได้ จะต้องตรงตามหลักความจริงมากที่สุด
             5. ความเห็นของนักนิติศาสตร์ เป็นการแสดงความคิดเห็นของว่าสมควรที่จะออกกฎหมายอย่างนั้น สมควรหรือไม่ จึงทำให้นักนิติศาสตร์ อาจจะเป็นอาจารย์ผู้มีชื่อเสียงในกฎหมายได้แสดงความคิดเห็นว่ากฎหมายฉบับนั้นได้

    ง. ประเภทของกฎหมาย
   
         ตอบ การแบ่งประเภทกฎหมายที่จะนำไปใช้นั้นมีรูปแบบและลักษณะที่แตกต่างกัน
การแบ่งประเภทกฎหมายที่ใช้ในประเทศไทย ขึ้นอยู่ใช้หลักใดจะขอกล่าวโดยทั่ว ๆไปดังนี้
               ก. กฎหมายภายใน มีดังนี้
                    1. กฎหมายที่เป็นลายลักษณ์อักษรและไม่เป็นลายลักษณ์อักษร
                         1.1 กฎหมายที่เป็นลายลักษณ์อักษร แบ่งโดยยึดเนื้อหาของกฎหมายที่ปรากฏเป็นหลักโดยผ่านกระบวนการบัญญัติกฎหมาย เช่น รัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติ
                         1.2 กฎหมายที่เป็นไม่เป็นลายลักษณ์อักษร เป็นกฎหมายที่มิได้มีการบัญญัติโดยผ่านกระบวนการนิติบัญญัติ เช่น จารีตประเพณี หลักกฎหมายทั่วไป
                    2. กฎหมายที่มีสภาพบังคับทางอาญา และกฎหมายที่มีสภาพบังคับทางแพ่ง
                         2.1 กฎหมายที่มีสภาพบังคับทางอาญา ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 18 วรรคแรก บัญญัติโทษทางอาญา เช่น การประหารชีวิต จาคุก กักขัง ปรับ หรือริบทรัพย์สิน
                        2.2 กฎหมายที่มีสภาพบังคับทางแพ่ง ได้บัญญัติถึงสภาพบังคับลักษณะต่าง ๆ กันไว้สำหรับลงโทษผู้ที่ฝ่าฝืนหรือไม่กระทำตามที่กฎหมายบัญญัติไว้
                  3. กฎหมายสารบัญญัติ และกฎหมายวิธีสบัญญัติ
                       3.1 กฎหมายสารบัญญัติ แบ่งโดยคำนึงถึงบทบาทของกฎหมายเป็นหลัก
                       3.2 กฎหมายวิธีสบัญญัติ กล่าวถึง วิธีการและขั้นตอนในการใช้กฎหมายบังคับ
                 4. กฎหมายมหาชน และกฎหมายเอกชน
                       4.1 กฎหมายมหาชน เป็นกฎหมายที่กำหนดความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับประชาชน รัฐเป็นผู้มีอำนาจบังคับให้ประชาชนปฏิบัติตามกฎหมาย เพื่อให้เกิดความสงบเรียบร้อย
แก่สังคม เป็นเครื่องมือในการควบคุมสังคม คือ กฎหมายมหาชน ได้แก่ กฎหมายรัฐธรรมนูญ กำหนดระเบียบ
                       4.2 กฎหมายเอกชน เป็นกฎหมายที่มีความสัมพันธ์ระหว่างเอกชนด้วยกัน เช่น กฎหมาย แพ่งและพาณิชย์
              ข. กฎหมายภายนอก มีดังนี้
                  1. กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีเมือง เป็นกฎหมายที่ว่าด้วยความสัมพันธ์ระหว่างรัฐต่อรัฐในการที่จะต้องปฏิบัติต่อกันและกัน
                  2. กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคล เป็นข้อบังคับที่ว่าด้วยความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลในรัฐต่างรัฐ ๆ
                  3. กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีอาญา เป็นข้อบังคับที่ประเทศหนึ่งหรือรัฐหนึ่งตกลง ยอมรับให้ศาลส่วนอาญาของอีกรัฐหนึ่งมีอำนาจในการพิจาณาลงโทษอาญาแก่บุคคลที่ได้กระทำผิดนอกประเทศนั้นได้
...........................................................

4.ท่านมีความคิดเห็นอย่างไร ว่าทำไมทุกประเทศจำเป็นต้องมีกฎหมาย จงอธิบาย

      ตอบ การที่ทุกประเทศต้องมีกฎหมายก็เพื่อ ควบคุม ดูแล ให้ความสุข ความสงบ ต่อประชาชนในประเทศนั้นๆ  เพราะกฎหมายคือข้อกำหนดที่ ทุกประเทศควรมีเป็นคำสั่งหรือข้อบังคับให้ประชาชนใน ประเทศปฏิบัติ เพื่อไม่ให้เกิดความขัดแย้ง หากบุคคลใดไม่ปฏิบัติตามก็จะมีบทลงโทษ เป็นการ ควบคุมประชาชนในประเทศให้อยู่ในระเบียบของกฎหมาย หากประเทศใดประชาชนในประเทศปฏิบัติเคารพต่อกฎหมายอย่างเคร่งขัดก็จะทำให้ประเทศนั้นเจริญกว่าประเทศที่คนไม่เคารพกฎหมาย
..........................................................


5.สภาพบังคับในทางกฎหมายท่านมีความเข้าใจอย่างไร จงอธิบาย

        ตอบ สภาพบังคับในทางกฎหมายนั้นก็คือ การบังคับใช้กฎหมายใต้ระเบียบ ข้อตกลง หรือบทลงโทษต่างๆ ที่จะต้องปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด
...........................................................

6.สภาพบังคับกฎหมายในอาญาและทางแพ่ง มีความเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร

       ตอบ มีความแตกต่างกัน คือ แตกต่างกันด้วยสภาพบังคับ ในกฎหมายแพ่งนั้น มีสภาพบังคับประเภทหนึ่ง กล่าวคือ ถ้าหากมีการล่วงละเมิดกฎหมายแพ่ง บุคคลผู้ล่วงละเมิดไม่ปฏิบัติตามคำพิพากษาของศาล ก็อาจจะถูกยึดทรัพย์มาขายทอดตลาด เอาเงินที่ขายได้มาชำระหนี้ตามคำพิพากษาของศาล หรือมิฉะนั้น อาจถูกกักขังจนกว่าจะปฏิบัติตามคำพิพากษาของศาลก็ได้ ส่วนในกฎหมายอาญานั้น มีสภาพบังคับอีกประเภทหนึ่ง คือ โทษทางอาญาซึ่งกฎหมายได้บัญญัติไว้สำหรับความผิด ซึ่งโทษดังกล่าวมีอยู่ 5 สถานด้วยกัน คือ ประหารชีวิต จำคุก กักขัง ปรับ และริบทรัพย์สิน
...........................................................
7. ระบบกฎหมายเป็นอย่างไร จงอธิบาย

        ตอบ แบ่งเป็น 2 ระบบดังนี้

              1. ระบบซีวิลลอร์ (Civil Law System) หรือระบบลายลักษณ์อักษร เป็นระบบเอามาจาก “JusCivile”ใช้แยกความหมาย “Jus Gentium” ของโรมัน ซึ่งมีลักษณะพิเศษกล่าวคือ เป็นกฎหมายลายลักษณ์อักษรที่มีความสำคัญกว่าอย่างอื่น คำพิพากษาของศาลไม่ใช่ที่มาของกฎหมาย แต่เป็นบรรทัดฐานแบบอย่างของการตีความกฎหมายเท่านั้น เริ่มต้นจากตัวบทกฎหมายเป็นสำคัญจะถือเอาคำพิพากษาศาลหรือความคิดเห็นของนักกฎหมายเป็นหลักไม่ได้
              2. ระบบคอมมอนลอว์ (Common Law System) ซึ่งจะต้องกล่าวถึงคำว่า
เอคควิตี้ (equity) เป็นกระบวนการเข้าไปเสริมแต่งให้คอมมอนลอว์ เป็นการพัฒนามาจากกฎหมายที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร นำเอาจารีตประเพณีและคำพิพากษา ซึ่งเป็นบรรทัดฐานของศาลสมัยเก่ามาใช้ จนกระทั่งเป็นระบบกฎหมายที่มีความสมบูรณ์ในตัวเอง การวินิจฉัยต้องอาศัยคณะลูกขุนเป็นผู้ตัดสินชี้ขาด
.........................................................


8.ประเภทของกฎหมายมีหลักการแบ่งอย่างไรบ้าง มีกี่ประเภท แต่ละประเภทประกอบด้วยอะไรบ้าง ยกตัวอย่างอธิบาย

        ตอบ ประเภทของกฎหมาย ที่จะศึกษาแบ่งได้เป็น 3 ประเภทใหญ่ ๆ คือ
                1. ประเภทแบ่งตามระบบหรือที่มาของกฎหมาย
                2. ประเภทแบ่งตามลักษณะการใช้กฎหมาย
                3. ประเภทแบ่งตามบทบัญญัติในกฎหมายที่มีความสัมพันธ์กับประชาชน

         1. ประเภทแบ่งตามระบบหรือที่มาของกฎหมาย
               1.1. ระบบลายลักษณ์อักษร ( Civil law System ) ประเทศไทยใช้ระบบนี้เป็นหลัก กระบวนการจัดทำกฎหมายมีขั้นตอนที่เป็นระบบ มีการจดบันทึก มีการกลั่นกรองของฝ่ายนิติบัญญัติคือ รัฐสภามีการจัดหมวดหมู่กฎหมายของตัวบทและแยกเป็นมาตรา เมื่อผ่านการกลั่นกรองจากรัฐสภาแล้ว จะประกาศใช้เป็นกฎหมายโดยราชกิจจานุเบกษา กฎหมายลายลักษณ์อักษรนี้ ได้แก่ กฎหมายรัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติ พระราชกำหนด พระราชกฤษฎีกา กฎกระทรวง
               1.2. ระบบไม่เป็นลายลักษณ์อักษรหรือจารีตประเพณี ( Common Law System)
เป็นกฎหมายที่มิได้มีการจัดทำเป็นลายลักษณ์อักษร ไม่มีการจัดเป็นหมวดหมู่ และไม่มีมาตรา หากแต่เป็นบันทึกความจำตามขนบธรรมเนียมประเพณีที่ใช้กันต่อๆมา ตั้งแต่บรรพบุรุษรวมทั้งบันทึกคำพิพากษาของศาลที่พิพากษาคดีมาแต่ดั้งเดิม ประเทศที่ใช้กฎหมายจารีตประเพณีหรือไม่เป็นลายลักษณ์อักษร ได้แก่ ประเทศอังกฤษและประเทศทั้งหลายในเครือจักรภพของอังกฤษ
        2. ประเภทแบ่งตามลักษณะการใช้กฎหมาย
              2.1. กฎหมายสารบัญญัติ คือ กฎหมายที่บัญญัติถึงสิทธิและหน้าที่ของบุคคล กำหนด ข้อบังคับความประพฤติของบุคคลทั้งในทางแพ่งและในทางอาญา โดยเฉพาะในทางอาญา
คือ ประมวลกฎหมายอาญา จะบัญญัติลักษณะการกระทำอย่างใดเป็นความผิดระบุองค์ประกอบความผิดและกำหนดโทษไว้ว่าจะต้องรับโทษอย่างไร และในทางแพ่ง คือ ประมวลกฎหมายแพ่งและ พาณิชย์ จะกำหนดสาระสำคัญของบทบัญญัติว่าด้วยนิติสัมพันธ์ระหว่างบุคคลในฐานะต่าง ๆ ตามกฎหมาย เช่น นิติกรรม หนี้ สัญญา เอกเทศสัญญา เป็นต้น
              2.2. กฎหมายวิธีสบัญญัติ คือ กฎหมายที่บัญญัติถึงวิธีการปฏิบัติด้วยการนำเอากฎหมายสารลบัญญัติไปใช้ไปปฏิบัตินั่นเอง เช่น ไปดำเนินคดีในศาลหรือเรียกว่า กฎหมายวิธีพิจารณาความก็ได้ กฎหมายวิธีสบัญญัติ จะกำหนดระเบียบ ระบบ ขั้นตอนในการใช้ เช่น กำหนดอำนาจเจ้าหน้าที่ของรัฐในการดำเนินคดีอาญาต่อผู้ต้องหา วิธีการร้องทุกข์ วิธีการสอบสวนวิธีการนำคดีที่มีปัญหาฟ้องต่อศาล วิธีการพิจารณาคดีต่อสู้คดี ในศาลรวมทั้งการบังคับคดีตามคำสั่ง หรือคำพิพากษาของศาล เป็นต้น กฎหมายวิธีสบัญญัติ จะกำหนดไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณา ความอาญา ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งเป็นหลัก
        3. ประเภทแบ่งตามบทบัญญัติในกฎหมายที่มีความสัมพันธ์กับประชาชน
              3.1. กฎหมายมหาชน เป็นกฎหมายที่รัฐตราออกใช้กำหนดความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับ ประชาชนการบริหารประเทศรัฐมีฐานะเป็นผู้ปกครองประชาชนด้วยการออกกฎหมายและให้ประชาชนปฏิบัติตามกฎหมาย เพื่อให้เกิดความสงบเรียบร้อยแก่สังคม จึงตรากฎหมายประเภทมหาชนซึ่งเกี่ยวข้องกับประชาชนเป็นส่วนรวมทั้งประเทศ และทุกคนต้องปฏิบัติตามกฎหมายการไม่ปฏิบัติตามกฎหมายจะมีผลกระทบต่อบุคคลของประเทศเป็นส่วนรวม จึงเรียกว่า กฎหมายมหาชน กฎหมายประเภทนี้ ได้แก่ กฎหมายรัฐธรรมนูญ กฎหมายปกครอง เช่น พระราชบัญญัติระเบียบ บริหารราชการแผ่นดิน กฎหมายอาญา เป็นต้น
             3.2. กฎหมายเอกชน เป็นกฎหมายที่กำหนดความสัมพันธ์ระหว่างเอกชนกับเอกชนด้วยกันเอง เป็นความสัมพันธ์ในเรื่องสิทธิและหน้าที่ระหว่างคู่สัญญา คือ เอกชนด้วยกันเอง รัฐไม่ได้เข้าไปยุ่งเกี่ยวด้วย เพราะไม่มีผลกระทบต่อสังคมส่วนรวม จึงให้ประชาชนมีอิสระกำหนดความสัมพันธ์ระหว่างกันภายในกรอบของกฎหมายเพื่อคุ้มครองความเสมอภาคมิให้เอาเปรียบต่อกันจนเกิดความไม่เป็นธรรมขึ้นต่อ
...........................................................

9.ท่านเข้าใจถึงคำว่าศักดิ์ของกฎหมายคืออะไร มีการแบ่งอย่างไร
       ตอบ มื่อกล่าวถึงศักดิ์ของกฎหมาย” (Hierachy of law)  อาจมีหลายคนอาจไม่เข้าใจว่าศักดิ์ของกฎหมายมีความหมายว่าอย่างไร มีความสำคัญมากน้อยแค่ไหนต่อกฎหมาย โดยทั่วไปในทางวิชาการ มีผู้ทรงคุณวุฒิได้ให้ความหมาย ศักดิ์ของกฎหมายไว้ว่า ลำดับชั้นของกฎหมาย หรืออีกนัยหนึ่งคือ ลำดับความสูงต่ำของกฎหมายที่ไม่เท่าเทียมกัน ซึ่งความไม่เท่าเทียมกันของกฎหมายแต่ละฉบับนั้น พิจารณาได้จากองค์กรที่มีอำนาจในการออกกฎหมาย หมายความว่ากฎหมายแต่ละฉบับจะมีชั้นของกฎหมายในระดับนั้น  ให้พิจารณาจากองค์กรที่ออกกฎหมายฉบับนั้น 
               รัฐธรรมนูญ  หมายถึง กฎหมายสูงสุดที่กำหนดรูปแบบการปกครองและระเบียบบริหารราชการแผ่นดินตลอดจนสิทธิต่างๆ ของประชาชนทั้งประเทศ ดังนั้น รัฐธรรมนูญจึงเป็นกฎหมายที่มีความสำคัญมากกว่ากฎหมายฉบับใด  กฎหมายฉบับอื่นจะบัญญัติโดยมีเนื้อหาที่ขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญไม่ได้  หากขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญ กฎหมายฉบับนั้นจะถือว่าไม่มีผลบังคับใช้พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ
               เป็นกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญที่ตราขึ้นในรูปแบบพระราชบัญญัติ ซึ่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยได้บัญญัติให้มีขึ้นอีกรูปแบบหนึ่งในระบบบทกฎหมายไทย เพื่อกำหนดรายละเอียดซึ่งเป็นกฎเกณฑ์สำคัญเพิ่มเติมบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญฯ บางมาตราที่บัญญัติหลักการไว้อย่างกว้าง ๆ ในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ให้มีความกระจ่างแจ้ง ชัดเจนและสมบูรณ์ยิ่งขึ้น ตามที่รัฐธรรมนูญมอบหมายและกำหนด โดยถือว่ากฎหมายประเภทนี้ มีลักษณะและหลักเกณฑ์พิเศษ
               เป็นกฎหมายลำดับชั้นรองลงมาจากรัฐธรรมนูญ เพราะพระราชบัญญัติออกมาเป็นกฎหมายโดยอาศัยอำนาจรัฐธรรมนูญโดยตรง ซึ่งองค์กรที่ทำหน้าทีในการตราพระราชบัญญัติคือ รัฐสภา ดังนั้น รัฐสภาจะตราพระราชบัญญัติที่มีเนื้อหาที่ขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญไม่ได้พระราชกำหนด
                  พระราชกำหนด ( emergency decree )  เป็นกฎหมายที่ตราขึ้นโดยฝ่ายบริหารในสถานการณ์อันมีความจำเป็นรีบด่วนเพื่อประโยชน์แห่งรัฐแล้วแต่กำหนดไว้ในกฎหมายแม่ของแต่ละประเทศ พระราชกำหนดมีอำนาจบังคับเช่นพระราชบัญญัติอันตราขึ้นโดยฝ่ายนิติบัญญัติ
สถานการณ์ที่จะประกาศใช้พระราชกำหนดได้
              พระราชกำหนดของไทยแบ่งออกเป็นสองประเภทตามความในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พ.ศ. 2550) ได้แก่
                 1. พระราชกำหนดทั่วไป ออกได้ในกรณีฉุกเฉินที่มีความจำเป็นรีบด่วนอันมิอาจหลีกเลี่ยงได้เพื่อประโยชน์ในการรักษาความปลอดภัยของประเทศ เพื่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจ หรือเพื่อป้องปัดพิบัติสาธารณะ
                 2. พระราชกำหนดเกี่ยวกับภาษีอากรหรือเงินตรา ออกได้ในกรณีที่มีความจำเป็นที่จะต้องมีกฎหมายเกี่ยวกับภาษีอากรหรือเงินตราซึ่งต้องได้รับพิจารณาโดยด่วนและลับ เพื่อรักษาผลประโยชน์ของแผ่นดิน ทั้งนี้ ภายในระหว่างสมัยประชุมของรัฐสภาเท่านั้น
พระราชกฤษฎีกา
               พระราชกฤษฎีกา คือ บทบัญญัติแห่งกฎหมายที่พระมหากษัตริย์ทรงตราขึ้นโดยอาศัยอำนาจตามรัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติ หรือพระราชกำหนด เพื่อใช้ในการบริหารราชการแผ่นดิน โดยคำแนะนำของคณะรัฐมนตรี มีศักดิ์ต่ำกว่ารัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติ ประมวลกฎหมาย และพระราชกำหนด
การตราพระราชกฤษฎีกา รัฐมนตรีซึ่งมีหน้าที่เกี่ยวข้องจะอาศัยอำนาจตามรัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติ หรือพระราชกำหนดนั้นๆ เสนอร่างพระราชกฤษฎีกาต่อคณะรัฐมนตรีให้พิจารณา โดยร่างพระราชกฤษฎีกานั้น จะต้องไม่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติ หรือพระราชกำหนดที่เกี่ยวข้อง

..........................................................

10.เหตุการณ์ เมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน 2555 มีเหตุการณ์ชุมนุมของประชาชน ณ ลานพระบรมรูปทรงม้า และประชาชนได้ประกาศว่าจะมีการประชุมอย่างสงบ แต่ปรากฏว่า รัฐบาลประกาศเป็นเขตพื้นที่ห้ามชุมนุม และขัดขว้างไม่ให้ประชาชนชุมนุมอย่างสงบ ลงมือทำร้ายร่างกายประชาชน ในฐานะท่านเรียนวิชานี้ท่านจะอธิบายบอกเหตุผลว่า รัฐบาลกระทำผิดหรือถูก
        

           ตอบ เป็นการกระทำที่ผิดอย่างมาก เพราะ รัฐบาลได้ทำการขัดขวางการชุมนุมของประชาชน ซึ่งประชนชาเองก็ได้ประกาศแล้วว่าจะประชุมอย่างสงบ ที่ร้ายแรงกว่านั้นรัฐบาลมีการทำร้ายประชาชนที่ไม่มีทางสู้ ทำให้เห็นถึงความโหดร้ายของรัฐบาลที่กระทำต่อประชาชนตาดำๆผู้มีสิทธิที่จะเรียกร้องสิทธิของตนเองเพราะประเทศไทยเป็นประเทศประชาธิปไตยมีสิทธีเสียงเท่ากัน รัฐธรรมนูญ ระบุอยู่แล้วว่า
               1. บุคคลมีหน้าที่รักษาไว้ซึ่งชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์และการครองระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
               2. บุคคลมีหน้าที่ปฏิบัติตามกฎหมาย
               3. บุคคลมีหน้าที่ไปใช้สิทธิของตนเอง
               4. บุคคลมีหน้าที่ป้องกันประเทศ 
..........................................................


11.ท่านมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ คำว่า กฎหมายการศึกษาอย่างไร จงอธิบาย
         ตอบ กฎหมายการศึกษา คือ บทบัญญัติตามกฎหมายรัฐธรรมนูญได้กำหนดให้มีกฎหมายการศึกษาขึ้น ที่จะเชื่อมโยงกับกฎหมายรัฐธรรมนูญว่าด้วยการศึกษาคือ จะเป็นกฎหรือคำสั่งหรือข้อบังคับของรัฐที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาที่สถาบันหรือหน่วยงานผู้มีอำนาจได้ตราขึ้นบังคับกฎหมาย เพื่อให้บุคคลประพฤติปฏิบัติตาม ไปสู่การพัฒนาคนและสังคมสู่ความเจริญงอกงาม ธำรงไว้ซึ่งอิสรภาพ เสรีภาพของบุคคลและประเทศชาติการจัดการศึกษา ให้ยึดหลักดังนี้ เป็นการศึกษาตลอดชีวิตสำหรับประชาชน ให้สังคมมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา  การพัฒนาสาระและกระบวนการเรียนรู้ให้เป็นไปอย่างต่อเนื่อง
               การจัดการศึกษามีสามรูปแบบ คือ การศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย สถานศึกษาจัดได้ทั้งสามรูปแบบ และให้มีการเทียบโอนผลการเรียนที่ผู้เรียนสะสมไว้ระหว่างรูปแบบเดียวกันหรือต่างรูปแบบได้ ไม่ว่าจะเป็นผลการเรียนจากสถานศึกษาเดียวกันหรือไม่ก็ตาม
               การศึกษาในระบบมีสองระดับ คือ การศึกษาขั้นพื้นฐานซึ่งจัดไม่น้อยกว่า 12 ปี ก่อนระดับอุดมศึกษา และระดับอุดมศึกษา ซึ่งแบ่งเป็นระดับต่ำกว่าปริญญา และระดับปริญญาให้มีการศึกษาภาคบังคับเก้าปี นับจากอายุย่างเข้าปีที่เจ็ด จนอายุย่างเข้าปีที่สิบหก หรือเมื่อสอบได้ชั้นปีที่เก้าของการศึกษาภาคบังคับ
                - สำหรับเรื่องสถานศึกษานั้น การศึกษาปฐมวัย และการศึกษาขั้นพื้นฐาน ให้จัดใน
                  1) สถานพัฒนาเด็กปฐมวัย
                  2) โรงเรียน ได้แก่ โรงเรียนของรัฐ เอกชน และโรงเรียนที่สังกัดสถาบันศาสนา
                  3) ศูนย์การเรียน ได้แก่ สถานที่เรียนที่หน่วยงานจัดการศึกษานอกโรงเรียน บุคคล ครอบครัว ชุมชน องค์กร  ชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์กรเอกชน องค์กรวิชาชีพ สถาบันศาสนา สถานประกอบการ โรงพยาบาล สถาบันทางการแพทย์ สถานสงเคราะห์ และสถาบันสังคมอื่นเป็นผู้จัด
          - การจัดการศึกษาระดับอุดมศึกษา ให้จัดในมหาวิทยาลัย สถาบัน วิทยาลัย หรือ หน่วยงานที่เรียกชื่ออย่างอื่นทั้งนี้ให้เป็นไปตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
        - การจัดการอาชีวศึกษา การฝึกอบรมวิชาชีพ ให้จัดในสถานศึกษาของรัฐ สถาน ศึกษาของเอกชน สถานประกอบการ หรือโดยความร่วมมือระหว่างสถานศึกษากับสถานประกอบการ กระทรวง ทบวง กรม รัฐวิสาหกิจ และหน่วยงานอื่นของรัฐ อาจจัดการศึกษา เฉพาะทางตามความต้องการและความชำนาญของหน่วยงานนั้นได้โดยคำนึงถึงนโยบายและมาตรฐานการศึกษาของชาติ

...........................................................

12.ในฐานะที่นักศึกษาจะต้องเรียนวิชานี้ ถ้าเราไม่ศึกษากฎหมายการศึกษาท่านคิดว่า 
เมื่อท่านไปประกอบอาชีพครู จะมีผลกระทบต่อท่านอย่างไรบ้าง       
 
        ตอบ คิดว่ามีผลกระทบหลายด้าน ในการประกอบวิชาชีพครู เพราะกฎหมายการศึกษาเป็นหัวใจสำคัญ ของการพัฒนาคน ซึ่งครูและบุคลากรทางการศึกษาคือผู้สร้างคนให้เป็นไปตามความต้องการของคนในประเทศ และนำไปปฏิบัติให้เกิดประโยชน์สุขต่อเยาวชนและประเทศชาติ หากครูหรือบุคลากรทางการศึกษาไม่ได้รับการศึกษาเรียนรู้ กฏหมายเหล่านี้ ก็เปรียบเสมือนครูที่ไร้ซึ้งแนวทาง กฎระเบียบ ในการพัฒนาคน ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของการจัดการศึกษาอย่างไรที่จะต้องเป็นไป เพื่อพัฒนานักเรียนให้ ป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งร่างกาย จิตใจสติปัญญา ความรู้ และคุณธรรม มีจริยธรรมและวัฒนธรรม ในการดำรงชีวิต สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข และจะต้องจัดให้บุคคลมีสิทธิและโอกาสเสมอกันในการรับการศึกษานั้นต้องทำอย่างไร สิ่งเหล่านี้เป็นพื้นฐานที่คนเป็นครูจะต้องทราบเพื่อจะได้ส่งเสริมกระบวนการ จัดการศึกษาให้ผู้เรียนได้พัฒนาตามธรรมชาติและเต็มตามศักยภาพ และเราไม่ ศึกษากฎหมายการศึกษาก็จะทำให้เราไม่รู้ว่ากฎหมายต่างๆมีอะไรบ้าง 






วันเสาร์ที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562

อนุทินที่ 1 🌈

                                           

                             🌈🌈🌈 อนุทินที่ 1  🌻🌻🌻                                                                                 
                                     🍎 ประวัติส่วนตัว🍎 

                                               




                                            ชื่อ-สกุล  🌼 นางสาว กมลชนก พูลนวล 🌵
                         
                                            ชื่อเล่น    🌻   หนูแนน / แอปเปิ้ล 🍎

                                           วัน/เดือน/ปี เกิด  🌈 4 มีนาคม 2539 อายุ 22ปี 

ที่อยู่ 🌍 967  ซ. สมบูรณ์สุข ถ. ท่าช้าง ต. คลัง อ.เมือง จ. นครศรีธรรมราช 80000

                                        การศึกษา 💎ม.1-ม.6  โรงเรียนกัลยาณีศรีธรรมราช

      บุคลิกและนิสัย 💁   เป็นคนสนุกสนาน ร่าเริง สดใส ชอบมองโลกในแง่ดี

                                        เข้ากับคนได้ง่าย แต่ค่อนข้างเป็นคนซุ่มซ่ามมากๆ 🍧

                 สิ่งที่ชอบ 💕 แมว ดอกไม้  ผลไม้  สีม่วงพาสเทล 🙎

   งานอดิเรก 🎉เลี้ยงแมว🐱 ทำอาหาร🍖 ปลูกต้นไม้🌷 เต้น 💃 ดูการ์ตูน👽

           ฟังเพลง 
อ่านหนังสือ📖 สะสมเครื่องรางของขลัง 🔮







อุดมการณ์ความเป็นครู 🌸


ในฐานะของครู 
สอนภาษาอังกฤษจะทุ่มเทแรงกายแรงใจในการเป็นครูที่สอนให้นักเรียน เป็นคนดีและคนเก่ง มีความ สุขในการเรียนภาษาอังกฤษ รักภาษาอังกฤษ เห็นถึงคุณค่าและความสำคัญของการเรียน ภาษาอังกฤษ







เป้าหมายของตนเอง 🍒 

อยากที่จะประสบความสำเร็จในทุกๆด้าน ดูแลครอบครัวทำให้ครอบครัวมีความสุขได้ทำงานที่รักอย่างมีความสุขได้เห็นนักเรียนมีความสุขเป็นคนเก่งและคนดีของสังคม และประสบความสำเร็จในชีวิต ✨   

      

                      💗👩